วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การละเล่นพื้นบ้าน

เดินกะลา (DERN KALA)
 
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น : เอาเชือกเส้นหนึ่งยาวประมาณ 1 วา ร้อยกะลามะพร้าว 2 อัน แล้วผู้เล่นขึ้นไปยืนบนกะลามะพร้าว โดยใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ทั้ง 2 เท้า (เหมือนกับหนีบรองเท้าฟองน้ำ) เมื่อเริ่มเล่น ทุกคนยืนอยู่ที่เส้น พอได้ยินเสียงสัญญาณให้รีบเดินไปที่เส้นชัย ใครถึงก่อนถือว่าชนะ 


ตี่จับ (TEE CHUB)
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น : แบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกัน และจับไม้สั้นไม้ยาวว่าใครจะเริ่มตี่ก่อน ฝ่ายที่ตี่ก่อน เริ่มเล่นโดยเลือก พวกของตนคนหนึ่งเป็นคนเข้าไปตี่ คนตี่จะออกเสียง "ตี่..." หรือ "หึ่ม...” เข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้าม ในขณะ เดียวกันฝ่ายตรงข้ามต้องคอยยึดตัวไม่ให้กลับเข้าแดนของตนได้ จนกว่าจะขาดเสียงผู้นั้นต้องมาเป็นเชลย ของฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าสามารถหนีกลับเข้าแดนตนได้ คนที่ถูกแตะจะกี่คนก็ตามต้องไปเป็นเชลยสลับกัน เมื่อมีฝ่ายของตนเป็นเชลย ผู้ที่ตี่คนต่อไปต้องพยายามช่วยพวกของตนกลับมาให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามต้อง คอยกันไม่ให้แตะกันได้ ถ้าแตะกันได้เชลยจะได้กลับแดนของตน เล่นกันเช่นนี้จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหมด ตัวผู้เล่นก่อน ฝ่ายชนะมีสิทธ์จะให้ฝ่ายแพ้ทำอะไรก็ได้

ม้าก้านกล้วย (MA KARN KLUI)
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น : ผู้เล่นนำก้านกล้วยมาตัดเป็นรูปม้า ตอนโคนเป็นหัว ตอนปลายเป็นหาง ใช้สายจากก้านกล้วยโยง เป็นบังเหียน นำขึ้นขี่เล่น แล้ววิ่งไปรอบๆ ทำท่าเหมือนขี่ม้า ทุกคนจะแข่งกันว่าใครจะวิ่งได้เร็วกว่ากัน

อีกาฟักไข่ (E-KA FUK KHAI)
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น : ใช้ผลไม้หรืออะไรก็ได้ สมมุติว่าเป็นไข่ และเขียนวงกลมลงบนพื้นเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 4 ฟุต 1 วง และอีกขาอยู่ในวงแรกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต วางไข่กำหนดไว้ในวงกลมเล็ก ให้คนใดคนหนึ่ง เป็นกายืนในวงกลมใหญ่ หรือนั่งคร่อมวงกลมเล็ก นอกนั้นทุกคนยืนรอบนอกวงกลมใหญ่ คอยแย่งไข่ คนเป็นกามีหน้าที่ ป้องกันไข่ โดยมีกติกาการเล่น ดังนี้
         1. ผู้มีหน้าที่หยิบ (แย่ง) ไข่ เข้าไปในวงกลมไม่ได้
         2. ผู้มีหน้าที่หยิบไข่ต้องระวังมิให้อีกาตีถูกมือ หรือแขนของตน ซึ่งล่วงล้ำเข้าไปในวงกลมได้
         3. ถ้าแย่งไข่ไปจากอีกาได้หมด ให้ปิดตาอีกา แล้วเอาไข่ไปซ่อนให้อีกาตามหาไข่ ถ้าพบไข่ที่ผู้เล่นคนใด เป็นคนซ่อนผู้นั้นต้องเปลี่ยนเป็นกาแทน

มอญซ่อนผ้า (MON SON PA)

จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น : มีผ้า 1 ผืน เป็นอุปกรณ์การเล่น จับไม้สั้นไม้ยาว เลือกคนที่เป็นมอญ คนอื่นๆ นั่งล้อมวง คนที่เป็นมอญถือผ้าไว้ในมือ เดินวนอยู่นอกวง คนที่นั่งล้อมวงอยู่จะร้องเพลง ระหว่างนั้นคนที่เป็นมอญ จะทิ้งผ้าไว้หลังใครก็ได้ แต่ต้องพรางไว้เป็นว่ายังถือผ้าอยู่ เมื่อเดินกลับมา ผ้ายังที่อยู่เดิม ก็หยิบผ้าไล่ตี ผู้อื่น ผู้เล่นนั้นต้องวิ่งหนีไปรอบๆ วง แล้วจึงนั่งได้ ผู้เป็นมอญจะเดินวนต่อไปหาทางวางผ้าให้ผู้อื่นใหม่ ถ้าใครรู้สึกตัวคลำพบผ้าจะวิ่งไล่ตีมอญไปรอบวง 1 รอบ มอญต้องรีบวิ่งหนีมานั่งแทนที่ คนไล่ก็ต้อง เป็นมอญแทน                      
     บทร้อง : มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่  ฉันจะตีก้นเธอ 

โป้งแปะ ( PONG PAE)
 จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น : จับไม้สั้นไม้ยาว เพื่อหาว่าใครจะเป็นคนหาก่อน เมื่อได้แล้วก็ปิดตา คนอื่นๆ ไปซ่อน คนปิดตาถาม “เอาหรือยัง” ถ้าผู้ซ่อนคนใด หรือหลายคนร้องว่า “ยัง” ก็ยังเปิดตาไม่ได้ รอจนกว่าผู้ซ่อนจะร้องว่า “เอาละ” จึงเปิดตาได้และค้นหาผู้ซ่อน เมื่อหาพบต้องส่งเสียงดังๆ เพื่อให้รู้ว่าพบใครคนหนึ่งแล้ว ผู้ซ่อน ทั้งหลายก็ออกมาจากที่ซ่อน ถ้าเล่นโป้งแปะ จะต้องร้องว่า “โป้ง….(ชื่อผู้ที่พบ)” ถ้าผู้ซ่อนถึงตัวผู้หา และร้องว่า “แปะ” ก่อน ผู้นั้นต้องเป็นต่อไป ผู้เล่นจะต้องซ่อนคนเดียว ที่เดียวกันจะซ่อนมากกว่า 1 คนไม่ได้

โพงพาง (PONG PANG)
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น : เลือกคนที่เป็นปลา โดยการจับไม้สั้นไม้ยาว เอาผ้าผูกตาคนที่เป็นปลา แล้วหมุน 3 รอบ ผู้เล่น คนอื่นๆ ล้อมวงจับมือกันเดินเป็นวงกลม พร้อมร้องเพลงประกอบ เมื่อจบเพลงนั่งลง ถามว่า “ปลาเป็นหรือปลาตาย” ถ้าตอบว่า “ปลาเป็น” คนที่อยู่รอบวงจะขยับเขยื้อนหนีได้ ถ้าบอก “ปลาตาย” จะต้องนั่งอยู่เฉยๆ คนที่ถูกปิดตาทายถูกก็ต้องมาเป็นแทน ถ้าทายผิดต้องเป็นต่อไป (ผู้ที่เป็นปลา ซึ่งถูกปิดตาจะต้องทายว่า ผู้ที่ถูกจับได้เป็นใคร ชื่ออะไร)  
     บทร้องประกอบ : โพงพางเอย  ปลาเข้าลอด  ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง  โพงพางเอย นกกระยางเข้าลอด  เสือปลาตาบอด  เข้าลอดโพงพาง กินปลาเป็นหรือกินปลาตาย 

งูกินหาง (Ngoo Gin Hang)
จำนวนผู้เล่น : 8-10 คน
วิธีเล่น : แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่ 1 จะต้องเป็น “พ่องู” 1 คน ฝ่ายที่ 2 มี “แม่งู” 1 คน ที่เหลือเป็น “ลูกงู” ซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้องเกาะเอวผู้เล่นเป็นแม่งู จากนั้น พ่องูเริ่มถามว่า “แม่งูเอ๋ย” แม่งูและลูกงูก็ร้องตอบว่า “เอ๋ย” พอช่วงท้ายพ่องูถามว่า “กินหัว กินหาง” แม่งูตอบว่า “กินกลางตลอดตัว” ผู้เป็นพ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อป้องกันลูก หากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุดออกจากแถวไป ก็จะต้องออกจากการเล่น ผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีกจนกว่าลูกงูจะถูกจับจนหมด


รีรีข้าวสาร ( REE – REE KHAO SARN )
 จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น : จับไม้สั้นไม้ยาว ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนเอามือประสานกันเหนือศีรษะเป็นประตูโค้ง คนอื่นๆ เกาะไหล่กัน ลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ สองคนที่เป็นประตูจะร้องเพลงประกอบเวลา แถวลอดใต้โค้งหัวแถวจะต้องเดินอ้อม หลังคนที่เป็นประตูครั้งละหน เมื่อจบเพลงสอง คนที่เป็นประตูจะกระดุกแขนลงกั้นคนสุดท้ายให้อยู่ระหว่าง กลาง คัดออกไป คนข้างหลังต้องระวังตัวให้ดี มิฉะนั้นตนเองต้องออกจากการเล่น ต้องผ่านให้ได้หมด ทุกคนจึงจะจบเกม 
     บทร้องประกอบ :  รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก  เลือกท้องใบลาน  เก็บ เบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน   พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี


ขี่ม้าส่งเมือง (KHEE MA SONG MUANG)
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น : แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย เท่าๆ กัน เลือกผู้เล่นคนหนึ่งเป็นเจ้าเมือง ซึ่งจะต้องไม่เข้ากับฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง แต่ละฝ่ายจับไม้สั้นไม้ยาว เพื่อเลือกว่าใครจะเริ่มเล่นก่อน ฝ่ายชนะจะเริ่มเล่นก่อนโดยการเดิน มากระซิบชื่อใครคนหนึ่งของฝ่ายตรงกันข้ามกับผู้ที่เป็นเจ้าเมืองก่อน แล้วกลับไป ฝ่ายตรงกันข้ามจะเดิน มากระซิบบ้าง ถ้ากระซิบชื่อได้ตรงกับที่ฝ่ายแรกกระซิบไว้ เจ้าเมืองจะกล่าวคำว่า “โป้ง” คนกระซิบคนแรก ต้องเป็นเชลย และฝ่ายที่ทายถูกทายได้อีกครั้งจนกว่าข้างใดข้างหนึ่งจะหมด ฝ่ายใดหมดก่อน ฝ่ายนั้นแพ้ และให้ฝ่ายชนะขี่หลังไปส่งเมือง